- เมื่อวานหลังจากที่ไปกินอาหารเวียดนามที่ร้านมาดามเอี่ยนแล้วก็แวะไปลองสปาปลาตรงกาดแสงตะวัน ใกล้ๆ ไนท์บาซ่าร์ จริงๆ เราไปกันตั้งแต่เมื่อวานตอนกลางคืนแต่เขาปิดเพราะท่อเสียก็เลยจองเขาไว้ 8 ที่ แม่สิกับป๊าเคยมาลองแล้วก็เลยมาเล่าให้เฮียเป้งฟัง จริงๆ แล้วได้ข่าวจากเพื่อนโกมะลิวัลย์ีที่เปิดร้านอยู่ด้านล่างว่าเขาให้เราลองฟรีถึงสิ้นเดือนนี้เท่านั้น เราก็เลยรีบไปลองแต่ไปหลังคนอื่นเพราะเขามากันตั้งแต่สองทุ่มเราเพิ่งกินอาหารเวียดนามเสร็จก็รีบมา
- แต่เราไม่ค่อยชอบเท่าไหร่เพราะมันจั๊กกะจี๋ ขนาดนวดฝ่าเท้ายังไม่ชอบเลย แต่ทุกคนในครอบครัวชอบกันใหญ่ บอกให้เราเอาเท้าแช่ไว้เรื่อยๆ เดี๋ยวก็ชินเพราะตอนที่เขามากันแรกๆ นั้นก็ยกเท้าขึ้นลงกันหลายรอบจนชินแล้วจะสนุก โดยเฉพาะแม่แทบไม่ยอมกลับเลย
- ก่อนที่เราจะทำสปาจะมีพนักงานล้างเท้าให้ เราต้องเอาสร้อยข้อเท้าออกด้วย จากนั้นก็นั่งหย่อยเท้าลงไปบ่อที่มีปลาตัวเล็กๆ ยุบยับไปหมดอเ ปลาก็จะเริ่มมาตอดมากขึ้นเรื่อยๆ ปลาจะตอดเอาขี้ไคล แบคทีเีรีย เชื้อราต่างๆ จากเท้าเราไป สังเกตได้เลยว่าพอยกเท้าขึ้นเท้าจะขาวสะอาดขึ้นทันตา
- Doctor fish
อัจฉริยะปลาในบ่อน้ำร้อนแห่งประเทศตุรกี สามารถบรรเทาอาการโรคผิวหนังร้ายแรงที่ปัจจุบันยังไม่มียาสมัยใหม่รักษาให้ หายขาดได้ ปลาที่ว่านี้เป็นปลาในครอบครัว ปลาคาร์พและมินโน (minnow and carp family) ชื่อว่า การา รูฟา (Garra rufa) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด ขนาดความยาวอาจยาวถึงประมาณ 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในบ่อน้ำร้อน Kangals ของรีสอร์ทแห่งหนึ่งในประเทศตุรกี และบางครั้ง doctor fish ก็อาจจะหมายถึง ปลา Cyprinion macrostomus ได้เช่นเดียวกัน โดยปกติปลาการา รูฟานี้จะว่ายวนอยู่บริเวณท้องน้ำ หา algae (จำพวกแพลงตอน หรือเห็ดราเล็กๆ) ใต้น้ำกินเป็นอาหาร ด้วยอุณหภูมิน้ำในบ่อน้ำพุอยู่ที่ระดับ 35 องศาเซลเซียส อาหารอื่นๆสำหรับปลาจึงมีอยู่อย่างจำกัด เมื่อเทียบกับหนองน้ำเย็นโดยทั่วไป แต่เนื่องจากว่า คนเรานี้เองนิยมชมชอบกับการอาบน้ำแร่ แช่น้ำอุ่น จึงเป็นโชคดีของเหล่าปลาผู้หิวโหยได้แทะเล็มผิวหนัง (เซลล์ที่ตายแล้วหรือขี้ไคล) ของเหล่าผู้ที่ไปอาบน้ำกินเป็นอาหาร ในปีนี้มีผู้คนหลายพันคน ที่มาเยี่ยมเยือนบ่อสปาน้ำร้อนแห่งนี้ หวังเพียงเพื่อให้เจ้าปลามารุมแทะเล็มเพื่อเป็นการผ่อนคลาย นอกจากนี้ ผู้มาใช้บริการเจ้าปลาพวกนี้ยังรวมถึง ผู้ที่เป็นโรคผิวหนัง อาทิ psoriasis (โรคผิวหนังที่ผิวหนังชั้นนอกหลุดร่วงออกแล้วทิ้งรอยจ้ำสีแดงไว้บนผิวหนัง) ซึ่งยังไม่มียาที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ในปีที่แล้ว นาย Martin Grassberger และนาย Werner Hoch จาก medical Uinversity of Vienna ประเทศออสเตรีย ได้ทำการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการบรรเทาอาการโรคผิวหนังของปลาชนิดนี้ พบว่า ปลาเหล่านี้ทำงานร่วมกับรังสี UV ในการรักษา โดยการรักษานี้สามารถบรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคผิวหนังชนิดนี้ได้นานถึง 8 เดือน เมื่อปลากัดกินผิวหนัง ที่เป็นเกล็ด ขุย อันเนื่องมาจากอาการของโรค ของผู้ป่วยออกไป เป็นการเปิดโอกาสให้ผิวหนังได้สัมผัสกับรังสี UV ในระดับที่ลึกลงไป ทำให้ผิวหนังมีพัฒนาการเติบโดได้ดีขึ้นการรักษาด้วยวิธีนี้จึงได้ชื่อว่า ichthyotherapy แปลตามตัวว่า “การบำบัดด้วยปลา” (ikhthus เป็นภาษากรีก แปลว่า ปลา) แปลกไปยิ่งกว่า การรักษาและเปลี่ยนโลหิตด้วยปลิง หรือหนอน ที่เราอาจเคยได้ยินกันมาบ้างเสียอีก
- มาเที่ยวเชียงใหม่อย่าลืมมาลองสปาปลาที่กาดแสงตะวันนะคะ อยู่ใกล้กับไนท์บาซาร์ ด้านล่างมีร้านกาแฟนั่งเล่นชิลชิลด้วยคะ
ประวัติของปลา
ปลาบำบัดมีถิ่นกำเนิดแถบลุ่มแม่น้ำ ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกกลาง ได้แก่ ตุรกี ซีเรีย อิรัก อิหร่าน ปากีสถาน ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ( Cyprinion macrostomus ) หรือชื่ออื่นๆ เช่น doctor fish , nibble fish , kangal fish และ redish log sucker แต่ชื่อที่เป็นที่รู้จักกันได้แก่ Gara rufa การารูฟา มีพฤติกรรมที่เป็น เอกลักษณ์ คือการเกาะและตอดในลักษณะ สั่นแบบช็อตไฟฟ้า spark vibration ทำหน้าที่ ดูดเซลที่ตาย แบททีเรียและเชื้อราที่ก่อให้เกิดกลิ่นเท้า อีกทั้ง ปลาการารูฟา ยังปล่อย enzyme diathanol ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นผิวให้เกิดเซลใหม่ ซ่อมแซมเซลผิวเก่าที่สึกหรอ ช่วยให้ผิวดูชุ่มชื่นขึ้น การารูฟา มีอายุประมาณ 6 ปี ความยาวเต็มที่ประมาณ 7 cm. ในทางการแพทย์ ถือว่าการใช้ปลา การารูฟาบำบัดเป็นวิธีการ ธรรมชาติบำบัดที่ได้ผลดีที่สุดทางหนึ่ง
0 comments:
Post a Comment