27 July 2009

ลูกลานเชื่อมราดกะทิ

  • อยู่เชียงใหม่มาหลายปีแล้ว เห็นเขาขายลูกลานเชื่อมในกาดเยอะแยะแต่ไม่รู้สึกว่าอยากจะลองชิม คิดว่าคงจะเหมือนลูกชิด ลูกจากที่กินกันบ่อยๆ แถมลูกลานยังแพงกว่าจะมีเฉพาะหน้า เขาบอกว่ากว่าลูกลานจะออกลูกได้ก็ต้องอายุ 50 ปีขึ้นไป แล้วแต่ละต้นก็ออกลูกเพียงแค่หนึ่งครั้งเท่านั้น วันนี้พ่อแม่พี่เขยพาณะโมว์เดินไปแอ่วกาดเพราะเราทำหมูปิ้งอยู่ข้างบนบ้าน เขาซื้อลูกลานเชื่อมราดกะทิมาให้หลายถุงก็เลยลองชิม ปรากฎว่าผิดคาด รสชาติมันไม่เหมือนกับลูกชิดหรือลูกจากที่หวานๆ มันจะหวานไม่มากเท่าไหร่ เนื้อมันจะกรุบๆ เหมือนเป็นแป้งที่ใส่ในเต้าทึงเรากินไปสามสี่คำไม่ค่อยประทับใจ แต่แปลกวันนี้พ่อพี่เขยซื้อมาฝากอีกหลายถุงเราก็เลยลองชิมใหม่ลองราดกะทิเยอะๆ ปรากฎว่าอร่อยเนื้อมันนุ่มๆ ไม่แข็งเหมือนเมื่อวานราดกินกับกะทิออกเค็มๆ หวานๆ ชักจะติดใจแล้วซิ
ข้อมูลเกี่ยวกับลูกลาน
  • ลาน หรือไม้ลาน เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่อยู่ในตระกูลปาล์ม เป็นพันธุ์ไม้ดึกดำบรรพ์ ที่ไม่ขึ้นแพร่หลายนัก มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาและแถบเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนใหญ่จะชอบขึ้นอยู่ในที่มีอากาศชื้นเย็น มีฝนตกมาก ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีที่สุด ในดินที่มีความชื้นสูง ดินมีการระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบน้ำขัง ต้นลานมีความคงทนต่อภัยธรรมชาติเป็นอย่างดี ต้นเล็กถึงแม้จะถูกไฟไหม้ก็จะงอกขึ้นได้ในโอกาสต่อไป เพราะรากของต้นลาน ฝังลงในดินลึกมาก ต้นลานที่พบในประเทศไทยมี 3 ชนิดคือ
  1. Corypha umbraculifera Linn พบมากทางภาคเหนือ เรียกว่า "ลานหมื่นเถิดเทิงหรือลานวัด" นิยมปลูกตามวัดต่าง ๆ แต่มีน้อย มีถิ่นกำเนิดในประเทศศรีลังกา และถือว่าเป็นต้นไม้ประจำชาติด้วย
  2. Corypha lecomtei Becc ชนิดนี้เองที่มีที่อุทยานแห่งชาติ ทับลาน เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองดั้งเดิมของไทย มีชื่อเรียกว่า "ลานดำ ลานขาว ลานพร้าว" นิยมใช้ใบทำเครื่องจักรสาน ลานชนิดนี้พบมากที่บ้านทับลาน บ้านขุนศรี บ้านบุพราหมณ์ บ้านวังมืด ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี บ้านท่าฤทธิ์ ตำบลวังม่วง อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี บริเวณผานกเค้า อำเภอผานกเค้า จังหวัดขอนแก่น นอกจากนี้ยังพบ ทั่วไปบริเวณจังหวัดลพบุรี , ตาก ,พิษณุโลก,นครปฐม
  3. Corypha elata Roxb หรือลานพรุ มีถิ่นกำเนิดในเบงกอล พม่า อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยพบมากทางภาคใต้ เขตอำเภอเชียรใหญ่และอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอระโนด จังหวัดสงขลาและตามเส้นทางจากจังหวัดกระบี่-พังงา ลานพรุมีลักษณะที่พิเศษแตกต่างจากลานชนิดอื่น คือ ลำต้นสูงคล้ายต้นตาล ขึ้นอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากตามที่ราบท้องทุ่ง แม้พื้นที่น้ำท่วมขัง
  • ต้นลาน จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นตรงและแข็ง เนื้อไม้เป็นเส้นใย ไม่มีกิ่ง มีแต่ก้านออกรอบลำต้นเป็นชั้น ๆ มีหนามเป็นฟันเลื่อยสั้น ๆ อยู่สองข้างริมขอบก้านใบ ใบยาวประมาณ 2-3 เมตร ใบใหญ่ มีลักษณะเป็นรูปพัด ค่อนข้างกลมคล้ายใบตาล บางทีเรียกปาล์มพัด ความยาวของใบ 3-4 เมตร ความกว้างที่แผ่ออกไปประมาณ 4.5-6 เมตร ถือเป็นพันธุ์ไม้ที่มีใบใหญ่ที่สุดในโลก เป็นไม้ทิ้งใบตามธรรมชาติ วงจรชีวิต ของต้นลานค่อนข้างพิเศษกว่าไม้ตระกูลอื่น ๆ คือ เมือ่ต้นแก่ตั้งแต่อายุ 20-80 ปี ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกและผล นั่นหมายถึงชีวิตช่วงสุดท้ายของต้นลานสิ้นสุดแล้ว
  • ต้นลาน จะออกดอกเป็นช่อใหญ่คล้ายรูปปิรามิด ตรงส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกหนึ่งจะมีดอกเป็นจำนวนล้าน ๆ ดอก สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม นับตั้งแต่เริ่มออกช่อดอกและบานกลายเป็น ผลกินเวลาประมาณ 1 ปีขึ้นไป ผลมีลักษณะกลมรี สีเขียว ผลหนึ่งมีเมล็ดเดียว เมล็ดกลมสีดำ เนื้อในคล้ายลูกชิด หรือลูกจาก รับประทานได้ เมื่อผลแก่ร่วงหล่นลงสู่พื้นดินจะงอกเป็นต้นลานเล็ก ๆ มากมาย
  • เนื่องจากลานมีลำต้นเดียว ไม่มีหน่อ ดังนั้นเมล็ดจากผลเท่านั้นเท่านั้นที่จะทำหน้าที่สืบพันธุ์ได้ สามารถใช้เพาะขยายพันธุ์ แต่การเจริญเติบโตของต้นลานเป็นไปอย่างช้ามาก ส่วนการย้ายปลูกกล้าไม้ลาน หาก มีการกระทบกระเทือนทางราก กล้าไม้จะไม่รอดตาย ประโยชน์ของ ต้นลาน ลาน ถือได้ว่าเป็นไม้เศรษฐกิจประเภทหนึ่งของไทย โดยอาศัยผลผลิตที่ได้จาก ต้นลาน นำมาใช้ประโยชน์เพื่อการดำรงชีวิต ทั้งด้านอุปโภคและบริโภค นับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ส่วนต่าง ๆ ของต้นลานที่นำมาใช้ประโยชน์ได้แก่ 1. ยอดลานอ่อน (ใบลานอ่อน) เป็นที่จารึก หนังสือพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา โดยการใช้เหล็กแหลมจารบนใบลานแล้วใช้ยางรักทา เอาทรายลบ ยางรักจะแทรกในตัวหนังสือที่จารเป็นเส้นดำ หรือจะใช้เขม่าไฟแทนก็ได้ เรียกหนังสือใบลานเหล่านี้ว่า "คัมภีร์ใบลาน" นอกจากนี้ยังนิยมนำมาพิมพ์เป็นการ์ด นามบัตร ที่คั่นหนังสือต่าง ๆ ใช้จักสานทำผลิตภัณฑ์ของใช้ อาทิ เช่น หมวก งอบ พัด กระเป๋า เสื่อ ภาชนะในครัวเรือน เครื่องประดับตกแต่งบ้าน เช่น โมบายรูปสัตว์ ปลาตะเพียน ฯลฯ ส่วนภาคใต้นำยอดลานพรุ มาฉีกเป็นใบ สางออกเป็นเส้น ปั่นเป็นเส้นยาวคล้ายด้าย นำไปทอเป็นแผ่น เรียกว่า ห่งอวนหรือหางอวน ทำเป็นถุงรูปสามเหลี่ยมสำหรับไว้ต่อปลายอวน ใช้เป็นถุงจับกุ้งและเคยสำหรับทำหระปิ สานเป็นถุงใส่เกลือ วองใส่ยาเส้นและซองใส่แว่นตา 2. ใบลานแก่ ใช้มุงหลังคาและทำผนังหรือฝาบ้าน บางแห่งใช้ใบลานเผาไฟเป็นยาดับพิษอักเสบฟกช้ำบวมได้เป็นอย่างดี ซึ่งเรียกทั่วไปว่า "ยามหานิล" 3. ก้านใบ ใช้ทำโครงสร้าง ไม้ขื่อ ไม้แป และผนัง บางแห่งใช้มัดสิ่งของแทนเชือกเหนียวมาก ส่วนกระดูกลาน (ใกล้กับบริเวณหนามแหลม) มีความแข็ง และเหนียวมากกว่าส่วนอื่นของก้านใบ ใช้ทำคันกลดพระธุดงค์ นอกจากนี้ยังใช้ทำขอบภาชนะจักสานทั่วไป เช่น ขอบกระด้ง ตะแกรง กระบุง ตะกร้า เป็นต้น 4. ลำต้น นำมาตัดเป็นท่อน ๆ สำหรับนั่งเล่นหรือใช้ตกแต่งประดับสวน ทำฟืนเป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม ภาคใต้บางแห่งใช้ทำครกและสาก 5. ผล ลูกตาลอ่อนนำเนื้อในมารับประมานแบบลุกชิดหรือลูกจาก ส่วนเปลือกรับประทานเป็นยาขับระบายดี บางแห่งใช้ลูกลานทุบทั้งเปลือก โยนลงน้ำทำให้ปลาเมา แต่ไม่ถึงตาย สะดวกแก่การจับปลา 6. ราก ใช้ฝนรับประทานแก้ร้อน ขับเหงื่อ แก้ไข้หวัด เป็นต้น

0 comments:

Post a Comment